iconsearch
iconsitemap
แนวปฏิบัติ CABNET
28 มี.ค. 2562
4312

CABNET คืออะไร? : CABNET มาจากคำว่า CABINET NETWORK คือ ระบบเครือข่ายสารสนเทศสนับสนุนภารกิจของคณะรัฐมนตรีในกระบวนการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรีทั้งระบบ ตั้งแต่การวางแผนการเสนอเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี การจัดทำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี การแจ้งระเบียบวาระการประชุมและส่งเอกสารการประชุมคณะรัฐมนตรี การแจ้งมติคณะรัฐมนตรีรวมทั้งการสืบค้นข้อมูลคณะรัฐมนตรี โดยเป็นระบบที่มีการรักษาความปลอดภัยอย่างสูง
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการประสานงานกับกระทรวง กรม หน่วยงานต่าง ๆ ที่ประสงค์จะนำเรื่องเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา การนำเสนอเรื่องและข้อมูลในระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้กระบวนการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในปัจจุบัน สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศประชุมคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรีแต่ละท่านไม่ต้องถือเอกสารจำนวนมากมาประชุม และในระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีสามารถอ่านรายละเอียดและพิจารณาเรื่องที่อยู่ในวาระการประชุมได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์บนโต๊ะประชุม
3.ระบบงานจัดเก็บและสืบค้นมติคณะรัฐมนตรี? : ภายหลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรีแล้ว มติคณะรัฐมนตรีจะจัดเก็บในระบบงานจัดเก็บมติคณะรัฐมนตรี โดยภายในสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีสามารถสืบค้นมติคณะรัฐมนตรีได้จากระบบงานนี้

CABNET ที่จะมีขึ้นในประเทศไทย : เพื่อให้ภารกิจของคณะรัฐมนตรีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรีทั้งระบบดำเนินไปอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้นำระบบ CABNET เข้ามาเชื่อมโยงกับทุกกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนภารกิจดังกล่าวให้ครบทั้งระบบ โดยเริ่มตั้งแต่
1.กระบวนการวางแผนการเสนอเรื่อง : หน่วยงานที่มีความประสงค์จะนำเรื่องเสนอเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรีจะสามารถวางแผน คำนวณระยะเวลาและประมาณการได้ว่าเรื่องของตนจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเมื่อใด เนื่องจากจะเห็นกระบวนการทั้งหมดภายในระบบ CABNET
2.การจัดทำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี? : หน่วยงานที่มีความประสงค์จะนำเรื่องเสนอเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรีจะสามารถตรวจสอบความเห็นของหน่วยงานต่าง ๆ ได้ รวมทั้งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี โดยหน่วยงานต่าง ๆ สามารถตอบความเห็นไปมาระหว่างหน่วยงาน จนกระทั่งหน่วยงานเจ้าของเรื่องสามารถรวบรวมความเห็น ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์ว่าขัดแย้งกันหรือไม่ แล้วจัดทำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.) ของหน่วยงานเจ้าของเรื่องจะเป็นผู้ดำเนินการส่งเรื่องให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผ่านทางระบบ CABNET
3.การแจ้งวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี : เมื่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีบรรจุเรื่องที่หน่วยงานต่าง ๆ จัดทำเพื่อเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแล้ว สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะส่งระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีไปยังคณะรัฐมนตรี (ปคร.) ของหน่วยงานต่าง ๆ และหน่วยงานเจ้าของเรื่อง ผ่านระบบCABNET
4.การแจ้งมติคณะรัฐมนตรี?? :? ภายหลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติอย่างไรในแต่ละเรื่อง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะแจ้งมติคณะรัฐมนตรีไปยังคณะรัฐมนตรี ของหน่วยงานต่าง ๆ และหน่วยงานเจ้าของเรื่องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง หรือรับทราบผ่านระบบ CABNET
ทั้งนี้ ระบบ CABNET จะเป็นระบบที่มีการรักษาความปลอดภัยอย่างสูง โดยจะจำกัดผู้ที่สามารถเข้าสู่ระบบดังกล่าวได้ และการเข้าสู่ข้อมูลของแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันตามอำนาจหน้าที่

CABNET? เริ่มต้นอย่างไร : โครงการ CABNET เริ่มต้นเมื่อปี 2547 จากโครงการความร่วมมือระหว่างสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไทยกับ Department of Prime Minister and Cabinet ของออสเตรเลีย ซึ่งในปี 2548 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปศึกษาระบบ CABNET เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบสารสนเทศการประชุมคณะรัฐมนตรีแบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับประเทศไทย และระบบนี้จะนำมาทดลองใช้ร่วมกันของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานนำร่อง ประมาณเดือนมีนาคม 2553

ทำไมต้องมีระบบ CABNET? : ระบบ CABNET ถูกนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่
1.ปัญหากรณีเรื่องที่ส่วนราชการเสนอไม่เป็นไปตามแนวทางที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 และวิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 กำไหนไว้ รวมทั้งประเด็นของเรื่องและรูปแบบของบันทึกไม่ชัดเจนและไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งปัญหานี้จะแก้ไขได้โดนการใช้แบบฟอร์มมาตรฐาน หรือ Template ในการจัดทำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี
2.ปัญหากรณีการประสานขอความเห็นในเรื่องเร่งด่วนมีเวลาจำกัด การส่งวาระการประชุมล่าช้า และการแจ้งมติคณะรัฐมนตรีให้หน่วยงานล่าช้า สามารถแก้ไขได้โดยการส่งเอกสารผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์รวมทั้งแจ้งผลการอนุมัติระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นรายเรื่องทำให้ส่วนราชการทราบล้วงหน้า และสามารถประสานผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมในการให้ความเห็นได้ทันการณ์

CABNET มีประโยชน์อย่างไร? :
1. คณะรัฐมนตรี ได้รับระเบียบวาระและเอกสารประกอบการประชุมเร็วขึ้น โดยจะได้รับแจ้งข้อมูลทันทีที่มีการจัดเรื่องเข้าสู่ระเบียบวาระ
2.ส่วนราชการและสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี การเสนอเรื่อง เสนอความเห็น ประสานข้อมูล ตรวจสอบสถานภาพเรื่อง สืบค้นข้อมูล สะดวกรวดเร็วขึ้น
3.การจัดทำเรื่องเป็นระบบมากขึ้น โดยการใช้ Template หนังสือประเภทต่าง ๆ เป็นแบบฟอร์มมาตรฐานเดียวกัน ทำให้การเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี มีข้อมูลที่สมบูรณ์ครบถ้วนมากขึ้น
4.ทุกฝ่ายประหยัดมากขึ้น เพราะลดเวลา และค่าใช้จ่ายในการจัดเตรียม-ผลิต-จัดส่งเอกสารการประชุม

รูปแบบการทำงานของระบบ CABNET? : ระบบ CABNET จะครอบคลุมการทำงานทุกขั้นตอนในกระบวนการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่การวางแผนการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีของหน่วยงานต่าง ๆ การเสนอเรื่อง การเสนอความเห็น การเสนอนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีเพื่อสั่งการ?? การแจ้งวาระการประชุม การจัดทำและแจ้งมติคณะรัฐมนตรี รวมทั้งการติดตามผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรี โดยระบบ CABNET จึงมีการทำงาน 3 ระบบหลัก ดังนี้
1.ระบบสารบรรณ เพื่อรองรับการรับส่งเอกสาร
2.ระบบ Work Flow เพื่อรองรับการติดตามสถานภาพหรือความก้าวหน้าของเรื่องและประสานการดำเนินงาน
3.ระบบ Search Engine เพื่อรองการสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในระบบ
ทั้งนี้ เอกสารส่วนราชการที่อยู่ในระบบจะสร้างในรูปแบบ Microsoft Word Document Template ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและส่วนราชการร่วมกันกำหนดให้มีความเหมาะสมในการใช้งาน

ปัจจัยความสำเร็จของระบบ CABNET? : ในการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีที่จะดำเนินการโดยระบบ CABNET นั้น ต้องอาศัยปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อให้ระบบ CABNET สามารถดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวประกอบด้วย ผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.) ผู้ช่วย ปคร. และข้าราชการสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี โดยบุคคลเหล่านี้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งเพราะจะเป็นผู้ใช้งานระบบ CABNET โดยตรงในการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี

ปคร. มีหน้าที่อะไรในระบบ CABNET? : ในการนำระบบ CABNET มาใช้นั้น ปคร. และผู้ช่วย ปคร. จะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งเพราะจะเป็นผู้ใช้งานระบบ? CABNET โดยตรง เนื่องจากมีหน้าที่ในการประสานงานให้การเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเป็นไปตามแผนหรือเวลาที่กำหนดด้วยความรวดเร็ว มีประสิทธิผล ทั้งการนำเสนอและการประสานขอความเห็นประกอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ผู้เกี่ยวข้องกับระบบ CABNET? :
1. ภายนอก
2 ปคร.
3 ส่วนราชการ 20 กระทรวง
4 หน่วยงาน 15 หน่วย? สำนักบริหารกลาง
5 ภายในสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
6 สำนักบริหารงานสารสนเทศ
6 กองการประชุมคณะรัฐมนตรี
7 สำนักนิติธรรม
8 สำนักพัฒนายุทธศาสตร์และติดตามนโยบายพิเศษ
9 สำนักวิเคราะห์เรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี
10 สำนักส่งเสริมและประสานงานคณะรัฐมนตรี?
11 สำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์


กระบวนการ CABNET ?:
คู่มือการใช้งาน ปคร.